ม.หอการค้า จับตา ผลประชุมกนง.16 ต.ค.นี้

สรุปข่าว

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยว่า การจับตามองที่สำคัญสำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2567 คือการจับตามอง วันที่ 16 ตุลาคม 2567 นี้ ที่จะมีการประชุมคณะกรรมการ นโยบายการเงิน (กนง.) จะส่งสัญญาณ เรื่อง ดอกเบี้ยนโยบายอย่างไร และ การเคลื่อนไหว ของกระทรวงการคลังที่ มีข่าวว่า จะเข้าไปหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในเรื่องกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ ปี 2568


ทั้งนี้ ท่าทีของกระทรวงการคลัง  คือ ต้องการที่จะเพิ่มกรอบเงินเฟ้อ ไปอยู่ที่ 1.5-3.5% ต่อปี จากเป้าหมายปัจจุบันที่จาก 1-3% ความแตกต่างอยู่ตรงที่ ในระยะกลางและระยะยาว ถ้าคงกรอบ 1-3% ไว้ เงินเฟ้อมีโอกาสที่จะขยับเข้าไปแตะขอบล่างได้ง่ายกว่า เป้าหมาย 1.5-3.5% หมายความว่า เงินเฟ้อในช่วงสิ้นปี 2567 มีโอกาสไปอยู่ที่ 1% ได้ แต่ หากเป็นค่าเฉลี่ยทั้งปี 2567 แน่นอนว่าไม่ถึง 1%”


นอกจากนี้ ถ้าเงินเฟ้อแตะที่ 1% เมื่อไหร่ แล้วใช้กรอบเดิม 1-3% สถานการณ์จะไม่ใช่ดอกเบี้ยขาลง ทำให้ กนง.ยังลดไม่ได้ตามกระแสโลก ในขณะที่ปัจจุบันประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่มีอัตราดอกนโยบายเบี้ยต่ำที่สุดในอาเซียน เพราะฉะนั้นธปท. อาจจะมีมุมมองว่าเป็นช่วงที่เหมาะสมกับการ ระดมเงินออม เพื่อการลงทุนในระยะยาว


นายธนวรรธน์ กล่าวว่า แต่ในฝั่งทั้งอยากให้ลดดอกเบี้ยนั้น อาจจะมองว่า ถ้าดอกเบี้ยนโยบายลดลงตามกระแสโลกได้ จะทำให้ปัญหาหนี้ครัวเรือนคลี่คลาย และสถาบันการเงินจะยอมปล่อยสินเชื่อได้ง่ายขึ้น ดังนั้น หากอยู่ในสภาวะดอกเบี้ยขาลง สถานการณ์เศรษฐกิจได้รับการเยียวยาให้เศรษฐกิจนั้นฟื้นตัวขึ้น แม้ว่าการลดดอกเบี้ยจะไม่ใช่ทั้งหมด แต่ก็จะเป็นส่วนสำคัญสำหรับบรรยากาศเศรษฐกิจที่ยังดูซึมเซา


สำหรับมุมมองของสำหรับ ม.หอการค้า นั้น ในส่วนของเงินเฟ้อ คิดว่าควรยึดตามกรอบเป้าหมายเดิม ที่ 1-3% เนื่องจากมองว่า อัตราเงินเฟ้อของไทยปัจจุบันอยู่ที่ 0.6% และอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 2567 จะอยู่ที่ 0.5-1% โดยไม่มีทางที่จะเกินกว่า 1% ขณะที่เศรษฐกิจที่มีอาการซึม จากความเชื่อมั่นที่ลดลง สถานการณ์น้ำท่วม ภาวะความเสี่ยงของสงครามระหว่างประเทศนั้น จะส่งผลให้การลดดอกเบี้ยนโยบาย ตามกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อเดิม สามารถดำเนินการได้


ที่มา TNN

ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :

แท็กบทความ

ย่อโลกเศรษฐกิจ
หอการค้าไทย
ลดดอกเบี้ย
กนง
พิชัย