

สรุปข่าว
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ฝนสะสมระหว่าง 6-15 กรกฎาคม 2566 พร้อมยืนยันล่าสุดพบสัญญาณการก่อตัวของพายุหรือไม่?
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชั่วโมง) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 6-15 กรกฎาคม 2566 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) :
6-7 กรกฎาคม 2566 มรสุมกำลังปานกลาง ยังพัดปกคลุม ทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีเมฆมาก พื้นที่ฝนมีแนวโน้มลดลง แต่ยังมีเกิดขึ้นบางแห่งส่วนมากบริเวณภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน ภาคตะวันออกด้านรับมรสุม ภาคกลาง กทม.และปริมณฑล เมื่อมรสุมอ่อนลง
ประกอบกับยังมีลิ่มความกดอากาศสูงจากมหาสมุทรแปซิฟิกแผ่ปกคลุมทางภาคอีสาน ทำให้ทิศทางลมเปลี่ยนแปลง ฝนยังเกิดขึ้นในช่วงบ่ายถึงค่ำ ส่วนใหญ่เป็นฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง
สำหรับภาคใต้ด้านรับมรสุม (ระนอง พังงา) ยังมีฝนเกิดขึ้นได้บ้างแต่ลดลงจากช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะภาคใต้ตอนล่างฝนน้อยลง คลื่นลมฝั่งอันดามันยังมีคลื่นสูง ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือ ชาวประมงเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือในระยะนี้
เนื่องจากลิ่มของความกดอากาศสูง (มวลอากาศเย็น)จากซีกโลกใต้ จะแผ่ขึ้นมาปกคลุมภาคใต้ตอนล่าง ช่วง 8-15 กรกฎาคม 2566 ฝนเพิ่มขึ้นบ้าง จากมรสุมที่แรงขึ้น แต่ยังตกไม่สม่ำเสมอ ส่วนใหญ่ยังเป็นด้านรับมรสุม
ระยะนี้ยังไม่มีสัญญาณการก่อตัวของพายุ
(ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ)
ข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา
ภาพจาก AFP
ที่มาข้อมูล : -