“ปูเจ็ดสี” ปูน้ำจืดชนิดใหม่ของโลก พบครั้งแรกเมื่อปี 2539
อุทยานแห่งชาติกุยบุรี เผยภาพ “ปูเจ็ดสี” สัตว์ป่าคุ้มครองลำดับที่ 14 ของไทย
“ปูเจ็ดสี หรือ ปูคีรีขันธ์ สัตว์ป่าคุ้มครองลำดับที่ 14 ของประเทศไทย พบที่ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ครั้งแรกเมื่อปี 2539 จากการตรวจสอบพบว่าเป็นปูน้ำจืดชนิดใหม่ของโลก จึงตั้งชื่อเป็นเกียรติแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ว่า “ปูคีรีขันธ์” เป็นปูน้ำจืดกลุ่มปูน้ำตก หรือปูภูเขา อาศัยอยู่ใต้ก้อนหินริมลำห้วยบนภูเขาสูงซึ่งเป็นพื้นที่ป่าดิบชื้น”
เดิมทีชาวบ้านเรียกปูชนิดนี้ว่า “ปูแป้ง” มีลักษณะกระดอง ขอบเบ้าตา ขอบกระดอง ขาเดินทั้ง 4 คู่เป็นสีม่วงเปลือกมังคุด ก้ามหนีบทั้ง 2 ข้างมีสีเหลืองส้ม ปลายขาข้อสุดท้ายและปลายก้ามหนีบมีสีขาวงาช้าง ในปี 2536 เป็นปีที่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯ ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ จึงได้มีการกราบทูลขอพระราชทานพระอนุญาต อัญเชิญพระนามของพระองค์มาเป็นชื่อของปูน้ำจืดชนิดนี้ว่า “ปูทูลกระหม่อม”
ที่มา: อุทยานแห่งชาติกุยบุรี - Kui Buri National Park