![ปรากฏการณ์ “จันทรุปราคา” คืนวันลอยกระทง](/static/images/513fe7a7-f2db-4704-9255-914cf55f822a.jpg)
![ปรากฏการณ์ “จันทรุปราคา” คืนวันลอยกระทง](/static/images/513fe7a7-f2db-4704-9255-914cf55f822a.jpg)
สรุปข่าว
วันลอยกระทงปีนี้ ตรงกับคืนเดือนเพ็ญ จะเกิดปรากฏการณ์ “จันทรุปราคาเต็มดวง” ซึ่งมองเห็นดวงจันทร์เป็นสีแดงอิฐ ปรากฏการณ์จันทรุปราคานั้นจะเกิดวันขึ้น 15 ค่ำเสมอ โดยปกติแล้วในวันขึ้น 15 ค่ำ ดวงจันทร์จะโคจรรอบโลกมาได้ครึ่งทาง ด้านที่หันมายังโลกของดวงจันทร์ก็จะรับแสงของดวงอาทิตย์เต็มดวง โดยไม่โดนโลกบัง เนื่องจากระนาบของดวงจันทร์ไม่ตรงกับระนาบโลก กับ ดวงอาทิตย์ เมื่อนั้นเราก็จะเห็นพระจันทร์ทรงกลมได้เต็มดวง แต่ถ้าเมื่อระนาบวงโครจรและตำแหน่งของ ดวงจันทร์ โลก และดวงอาทิตย์มาอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันพอดี ก็จะทำให้เงาของโลกบดบังดวงจันทร์หรือที่เรียกว่าปรากฏการณ์จันทรุปราคานั่นเองค่ะ โดยประเทศไทย จะเริ่มสังเกตการณ์ได้เมื่อดวงจันทร์จะโผล่พ้นขอบฟ้าทางทิศตะวันออกเวลาประมาณ 17:44 น. (เวลา กรุงเทพมหานคร) ซึ่งเป็นช่วงคราสเต็มดวงพอดี และจะมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงปรากฏเป็นสีแดงอิฐ จนถึงเวลา 18:41 น. รวมระยะเวลานาน 57 นาที หลังจากนั้นจะเริ่มเห็นดวงจันทร์ปรากฏเว้าแหว่งบางส่วนและค่อย ๆ ออกจากเงามืดของโลก และจะสิ้นสุดปรากฏการณ์จันทรุปราคาแบบบางส่วนในเวลา 19.49 น. จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาเงามัวที่สังเกตได้ยาก เนื่องจากความสว่างของดวงจันทร์เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และสุดท้ายดวงจันทร์จะพ้นจากเงามัวของโลกในเวลา 20.56 น. ซึ่งเป็นเวลาที่จะสิ้นสุดปรากฏการณ์จันทรุปราคาในครั้งนี้โดยสมบูรณ์ ทั้งนี้ประเทศไทย สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งจะเริ่มเกิดปรากฎการณ์ตั้งแต่เวลาประมาณ 15.02 น. ไปจนถึงเวลา 20.56 น. และสามารถสังเกตได้จากหลายพื้นที่ทั่วโลก ทั้ง ทวีปยุโรปตอนเหนือและตะวันออก, ทวีปเอเชีย, ทวีปออสเตรเลีย, ทวีปอเมริกาเหนือ, บางส่วนของทวีปอเมริกาใต้, มหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย ขั้วโลกเหนือ และบางส่วนของขั้วโลกใต้
ที่มาข้อมูล : -