TNN ผลศึกษาฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังภูมิสู้ ‘โควิดเดลตา’ ได้ดีเทียบเท่าฉีดกล้ามเนื้อ

TNN

เกาะติด COVID-19

ผลศึกษาฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังภูมิสู้ ‘โควิดเดลตา’ ได้ดีเทียบเท่าฉีดกล้ามเนื้อ

ผลศึกษาฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังภูมิสู้ ‘โควิดเดลตา’ ได้ดีเทียบเท่าฉีดกล้ามเนื้อ

กระทรวงสาธารณสุขเผยผลการศึกษาการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 เข้าชั้นผิวหนัง พบว่าภูมิขึ้นกันสู้ ‘โควิดเดลตา’ได้เทียบเท่ากับฉีดแบบเข้ากล้ามเนื้อ และยังใช้ปริมาณวัคซีนน้อยกว่า

วันนี้ ( 22 ก.ย. 64 )นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยผลการทดลองฉีดวัคซีนโควิด"แอสตร้าเซเนก้า"เข้าชั้นผิวหนังเป็นเข็มที่ 3  ในอาสาสมัคร ที่ได้วัคซีนซิโนแวคแล้ว 2 เข็ม เปรียบเทียบกับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ โดยใช้อาสาสมัคร ช่วงอายุ 18-60 ปี จำนวน 95 คน พบว่าผลข้างเคียง ถ้าหากฉีดเข้าชั้นผิวหนัง จะเกิดอาการเฉพาะจุด หรือรอยแดงมากกว่าฉีดเข้ากล้ามเนื้อ แต่หายเองได้ใน 7 วัน ส่วนอาการทั่วไปของร่างกาย หรือ การอ่อนเพลียน้อยกว่า โดยพบว่า ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ มีไข้ ร้อยละ30 ส่วนฉีดเข้าชั้นผิวหนัง มีไข้เพียง ร้อยละ 5

ส่วนเรื่องภูมิคุ้มกัน แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ภูมิคุ้มกันทั่วไป พบว่าการฉีดกระตุ้นเข็มที่ 3 เข้าชั้นผิวหนัง ภูมิขึ้นประมาณ 1,300 ใกล้เคียงกับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ที่ระดับอยู่ที่  1,652 ส่วนการตรวจภูมิคุ้มกันดูการต่อสู้กับสายพันธุ์เดลตาโดยเฉพาะพบภูมิขึ้นไปที่ 234 ต่อสู้กับสายพันธุ์เดลตาได้และไม่แตกต่างกับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

แม้จะพบแบบสูตรฉีดเข้าชั้นผิวหนังดีเทียบเท่าฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และใช้ปริมาณวัคซีนน้อยกว่าสูงสุดถึง 5 เท่า แต่กระทรวงสาธารณสุข ยังคงใช้แบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อเหมือนเดิม ยกเว้นพื้นที่ไหน ต้องการประหยัดวัคซีน และมีความพร้อมด้านบุคลากรที่สามารถฉีดเข้าผิวหนังได้ จึงจะใช้วิธีนี้ และอนาคตหากงานวิจัยใน 1 หมื่นคน พบว่า ผลภูมิคุ้มกันขึ้นเท่ากัน อาการค้างเคียงปลอดภัย  ถึงอาจนำวิธีนี้มาใช้ในไทย

ข่าวแนะนำ