สรุปข่าว
ศ.ดร.อภิชาติ
วรรณวิจิตร ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว ภาควิชาพืชไร่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิทยาเขตกำแพงแสน แถลงข่าว “ข้าวสรรพสี” ที่ประชาชนยังสับสน
ว่าเกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่าง พันธุ์พ่อ “ข้าวเจ้าหอมนิลพันธุ์กลายใบขาว” กับ พันธุ์แม่ “ข้าวก่ำหอมนิล”
ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิทยาเขตกำแพงแสน ในปี พ.ศ. 2553 ทำการคัดเลือกต้น
F2 โดยเน้นจากความหลากหลายของเฉดสีบนแผ่นใบ
รูปร่างใบ ขนาดใบ ซึ่งพบการกระจายตัวของสีใบ ตั้งแต่เขียวสลับขาว ชมพู ม่วง
คัดเลือกลักษณะทรงต้นที่ดี สีใบและรูปร่างใบ มีความสม่ำเสมอ
เพื่อเลือกสายพันธุ์ที่เป็นตัวแทนแต่ละเฉดสีใบ จากครอบครัว F2 ดีเด่น จากนั้นนำมาผสมข้ามต้นระหว่างครอบครัว
เพื่อผลิต F1 ปลูกแล้วเก็บเมล็ด F2 มาปลูกและคัดเลือก F2 สายพันธุ์ที่มีสีใบตามเป้าหมาย ใบตั้ง กอตั้ง
ไม่ไวแสง ในปี 2556 คัดเลือกและปลูกครอบครัว F3 จากแต่ละคู่ผสม ในปี 2557 และทำเช่นนี้อีกในรุ่น F4 และ F5 ในปี
2558-2559
จนได้ข้าวสรรพสี
ที่มีสีของใบแตกต่างกัน ความสูงต่างกัน ทรงกอตั้ง ไม่ไวแสง อายุยาว จำนวน 5 สายพันธุ์ ประกอบด้วย สายพันธุ์ใบสีชมพูทับทิมต้นสูง
(สรรพสี 01), ใบสีชมพูทับทิมต้นเตี้ย (สรรพสี 02), ใบสีชมพูแถบเขียวและขาวต้นสูง (สรรพสี 03), ใบสีชมพูแถบเขียวและขาวต้นเตี้ย (สรรพสี 04) และใบสีขาว
(สรรพสี 05) สายพันธุ์ข้าวสรรพสีเหล่านี้
จะปรากฏสีบนแผ่นใบชัดเจนและสวยงามมาก เมื่อปลูกในช่วงฤดูหนาว ข้าวสรรพสีทั้ง 5 สายพันธุ์
อยู่ในระหว่างขั้นตอนการยื่นจดคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ รงควัตถุที่พบในข้าวสรรพสี คือ anthocyanin ที่สะสมอยู่จนทำให้ใบและทุกส่วนของก้านดอกข้าว
มีสีสวยงามตั้งแต่ม่วงไปจนถึงชมพู anthocyanin ที่พบในข้าวสรรพสี มีส่วนผสมกันของ cyaniding-3-glucoside (สีส้ม-แดง), peonidin-3-glucoside (สีส้ม-แดง), peargomidin-3-glucoside (สีส้ม) และ delphinidin-3-glucoside (สีน้ำเงิน-แดง) สาร anthocyanin เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญที่สุดในข้าว
เพราะมีปริมาณมากที่สุดและสามารถละลายน้ำได้ ถูกดูดซึมได้ง่าย การบริโภคข้าวกล้องที่มีสี
รวมทั้งผักและผลไม้ที่มีสี จึงช่วยลดสภาวะ Oxidative stress ภายในเซลล์ได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้น anthocyanin ยังเป็นสารกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตในเส้นเลือดแดง
โดยเฉพาะเส้นเลือดฝอย ต่อต้านการสะสมไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้
ทั้งนี้ ศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว ได้ยืนยันว่า “ข้าวสรรพสี” พันธุ์นี้ เกิดจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ส่วนที่มีปรากฏออกไปข้างนอก อาจเกิดจากการที่เมล็ดข้าวอาจเล็ดรอดหลุดออกไป แต่ถ้าจะพิสูจน์ให้แน่ชัดก็คงต้องมีการ นำต้นพันธุ์มาตรวจสอบเปรียบเทียบกันอีกครั้ง ส่วนผลผลิตของข้าวพันธุ์นี้ ยังไม่ได้มีการปรับปรุงให้เหมาะกับการใช้บริโภคได้ ขณะนี้เป็นเพียงให้ต้นข้าวมีสีสันที่สวยงามเท่านั้น ซึ่งคาดว่าคงต้องใช้เวลาอีกประมาณ 2 ปี ก็คงจะได้ผลผลิตสามารถนำมาบริโภคได้
เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNThailand
Youtube Official : TNNThailand
ที่มาข้อมูล : -