ลดน้ำหนักโดยใส่ลูกโป่ง ดีกว่าผ่าตัดกระเพาะ แต่เหมาะกับผู้มีภาวะอ้วนรุนแรง

   ศ.คลินิก นพ. อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์  รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยายาบาล ให้ข้อแนะนำถึงผู้ที่จะผ่าตัดกระเพาะให้มีขนาดเล็กลง เพื่อลดความอ้วนนั้น อาจจะมากเกินไป ถึงแม้จะช่วยให้ลดน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงมาก และ มีประโยชน์ ในคนที่น้ำหนักเกิน หรือ อ้วนมากๆ BMI มากกว่า 40 ซึ่งจัดเป็นภาวะอ้วนที่มีอันตราย หรือ morbid obesity  

     แต่การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ เป็นการผ่าตัดใหญ่ ที่ต้องวางยาสลบ มีความเสี่ยง และ เมื่อตัดกระเพาะไปแล้ว ตัดแล้วตัดเลย เนื้อกระเพาะไม่สามารถเพิ่มกลับมาได้ ดังนั้น หากตัดเยอะเกินไป ก็แก้ไขไม่ได้แล้ว

     แพทย์จึงมีแนวคิด ที่จะทำการลดน้ำหนักด้วยหลักการเดียวกับการตัดกระเพาะอาหาร คือ ทำให้มีเนื้อที่ในกระเพาะอาหารน้อยลง กินแล้ว อิ่มเร็วขึ้น โดยการส่องกล้อง และ ใส่ลูกโป่ง(เป็น ซิลิโคน คล้ายที่ใช้เสริมเต้านม) เข้าไปในกระเพาะอาหาร ... ตอนใส่เข้าไป เป็นลูกโป่ง แฟบๆ จากนั้น เติมน้ำ เข้าไป และ ปล่อยลูกโป่งทิ้งไว้  เมื่อลดน้ำหนักได้จนเป็นที่พอใจ ก็ ส่องกล้องเข้าไป และ คีบลูกโป่งนี้ออก ... ซึ่งวิธีการแบบนี้ ก็ไม่ใช่เป็นการผ่าตัดใหญ่ และ ไม่ต้องตัดเนื้อกระเพาะออก ลดความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้

     วิธีการใส่ลูกโป่งเข้าไปในกระเพาะอาหาร มีผล ในการลดน้ำหนักได้ ประมาณ 10 กิโลกรัม ถึงแม้จะน้อยกว่า การตัดกระเพาะอาหาร แต่ก็อันตรายน้อยกว่า และ อาจจะสามารถนำมาใช้กับ ผู้ที่อ้วน ไม่มากนัก เช่น BMI 30-35 ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะอ้วนเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ

      อย่างไรก็ดี การใส่ลูกโป่ง ก็พบภาวะแทรกซ้อนได้ ในการทบทวนรายงาน ผู้ป่วยเกือบ 1,400 ราย พบ ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง คือ กระเพาะทะลุ และจำต้องนำลูกโป่งออก เพียง 2 ราย แต่ก็พบอาการข้างเคียงที่ไม่รุนแรง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง รู้สึกเหมือนมีน้ำกลิ้งไปมาในช่องท้อง ฯลฯ 

      เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการลดความอ้วน และ เมื่อน้ำหนักลดลง ความรู้สึกอิ่ม ก็จะกลับมา เพราะว่า กรณีที่ไขมันในร่างกายเยอะมากจะ เกิดภาวะที่กินแล้ว ไม่รู้จักอิ่ม (ดื้อต่อ leptin สารรู้สึกอิ่ม) ที่พบในคนอ้วน 


ลดน้ำหนักโดยใส่ลูกโป่ง ดีกว่าผ่าตัดกระเพาะ แต่เหมาะกับผู้มีภาวะอ้วนรุนแรง

สรุปข่าว

วิธีลดน้ำหนักใส่ลูกโป่งในกระเพาะได้ประสิทธิผลคล้ายกันและลดความเสี่ยงได้มากกว่า แต่ย้ำว่าไม่เหมาะกับคนทั่วไป เพราะยังมีภาวะแทรกซ้อนได้ ดังนั้นการคุมน้ำหนักที่ถูกวิธีเพียงแค่รู้กลไกร่างกายก็ทำได้ไม่ยาก

      เรื่องการลดน้ำหนักด้วยการตัดกระเพาะให้เล็กลง หรือการใส่ลูกโป่งในกระเพาะ ให้อิ่มเร็ว ถึงแม้จะได้ผลเร็ว  และชัดเจน  แต่ก็มีภาวะแทรกซ้อน และอาจจะรุนแรง  จึงไม่แนะนำให้ใช้  สำหรับคนทั่วไป  ใช้กับคนที่ อยู่ในภาวะอ้วนที่รุนแรงเท่านั้น..

      สำหรับการคุมน้ำหนัก  หรือลดน้ำหนักของคนทั่วไป  ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด หรือใส่ลูกโป่ง  แค่ปฏิบัติตัวให้เป็นเท่านั้น  การปฏิบัติตัว เป็นปฏิบัติถูก  หากเข้าใจกลไกการเปลี่ยนแปลงในร่างกาย  ก็จะทำได้ไม่ยาก และปรับให้เข้ากับวิถีชีวิตของแต่ละคน

avatar

นัฐทวี ชลีโสภณ