“วัณโรค” กลับมาระบาดโลก เสียชีวิตในไทยปีละ 13,000 คน

ตอนนี้ ผู้เสียชีวิตจากวัณโรคตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลกอยู่ที่ 1.25 ล้านคน ในปี 2023 ในจำนวนนี้เป็นผู้เสียชีวิตในไทย 13,000 คน

แต่ละปีมีผู้ป่วยติดเชื้อ 10.8 ล้านคน เป็นในไทย 113,000 คน 

องค์การอนามัยโลกออกมาเตือนว่า การที่โดนัลด์ ทรัมป์ ตัดงบช่วยเหลือนานาประเทศ จะทำให้วัณโรคกลับมาระบาดหนักทั่วโลกอย่างร้ายแรง

สอดคล้องกับที่ศูนย์เพื่อการพัฒนาโลก ประเมินว่า การแช่แข็งงบช่วยเหลือของอเมริกา จะทำให้คนตายกว่า 3 ล้านคนทั่วโลกใน 1 ปี

“วัณโรค” กลับมาระบาดโลก เสียชีวิตในไทยปีละ 13,000 คน

สรุปข่าว

วัณโรคกำลังระบาดทั่วโลก โดยในปี 2023 มีผู้เสียชีวิต 1.25 ล้านคนทั่วโลก และในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตถึง 13,000 คน ขณะที่มีผู้ติดเชื้อทั่วโลก 10.8 ล้านคน เป็นผู้ป่วยในไทย 113,000 คน องค์การอนามัยโลกเตือนว่าการตัดงบช่วยเหลือนานาประเทศของประธานาธิบดีทรัมป์จะทำให้วัณโรคระบาดรุนแรงขึ้น สอดคล้องกับการประเมินของศูนย์เพื่อการพัฒนาโลกที่คาดว่าการแช่แข็งงบช่วยเหลือของอเมริกาจะทำให้มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกกว่า 3 ล้านคนภายใน 1 ปี อาการของวัณโรคประกอบด้วยการไอเรื้อรัง ไอมีเลือด มีไข้เรื้อรัง เหงื่อออกตอนกลางคืน และน้ำหนักลด

วัณโรคนั้น ก่อให้เกิดอาการไอติดต่อยาวนาน ไอมีเลือด ไข้เรื้อรัง เหงื่อออกตอนกลางคืน และน้ำหนักลด

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการป้องกัน โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินงานควบคุมวัณโรคตามแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค ขององค์การสหประชาชาติและองค์การอนามัยโลก 

โดยขับเคลื่อนนโยบายผ่านแผนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพด้านวัณโรค (Service Plan) ด้วยการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในกลุ่มเสี่ยงสูง การวินิจฉัย การรักษา และการป้องกันการเกิดวัณโรคอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานในทุกด้าน ตั้งเป้าลดอัตราการตายจากวัณโรคลง ร้อยละ 95 และลดผู้ป่วยรายใหม่ลง ร้อยละ 90 ภายในปี 2578

นอกจากนั้น กรมควบคุมโรคยังได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรคให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค ในปี 2578 โดยให้ความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ คือ 

1. การเร่งรัด การค้นหา และตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยวัณโรคและผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาในทุกกลุ่มเสี่ยง 

2. ยกระดับการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคและผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา 

3. เพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงการวินิจฉัย การรักษาการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง และการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ 

4. เสริมสร้างความเข้มแข็งระบบสนับสนุนการดำเนินงานวัณโรค 

ที่มาข้อมูล : WHO

ที่มารูปภาพ : TNN Online

avatar

ทศพล ชัยสัมฤทธิ์ผล