!["Wet February" กุมภาฯ เดือนตบะแตกจากการงดดื่มแอลกอฮอล์](/static/2025/cfec0ebf-62f2-4dba-b873-b13e66643148.webp)
หลังจากเทศกาลปีใหม่ที่มีการดื่มแอลกอฮอล์กันอย่างมาก หลายคนได้ตั้งปณิธานงดเหล้าในกิจกรรมประจำปีที่เรียกว่า มกราฯแห้งแล้ง หรือ Dry January เป็นเวลา 1 เดือนเพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อน แต่เมื่อหมดเดือนแล้ว ก็ยิ่งต้องระวังอย่างหนัก ไม่ให้เกิด กุมภาฯดื่มหนัก หรือ Wet February ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า อาจเป็นเดือนตบะแตกของใครหลายคน ถ้าไม่ควบคุมการดื่มให้ดี
ที่มาของการรณรงค์ "งดดื่ม" หลังปีใหม่
ต่อเนื่องมาจากเทศกาลปีใหม่ ทำให้เกิดกิจกรรมการงดเหล้าเดือนแรกของปี ซึ่งเริ่มได้รับความนิยมหลังจากองค์กรไม่แสวงผลกำไรในอังกฤษผลักดันในปี 2013 ปี และกลายได้เป็นแคมเปญได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล และแพร่หลายในหลายประเทศทั่วโลก
ให้ผู้คนตระหนักถึงการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายที่ทำงานมาอย่างหนัก จากการกินดื่มกันอย่างสุดเหวี่ยงในช่วงส่งท้ายปี ตั้งแต่คริสมาสต์ยาวมาจนถึงปีใหม่
ข้อมูลจากมหาวิทยาลัยซัสเซ็กซ์ พบว่า ในปี 2014 แคมเปญ Dry January ช่วยลดเปอร์เซนต์การดื่มของผู้เข้าร่วมได้มากถึง 72% และพวกเขามีแนวโน้ม ลดการดื่มแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง หลังจากผ่านการงดเหล้าหนึ่งเดือนไปแล้ว 6 เดือน
ผลการตรวจสุขภาพ ชี้ว่า พวกเขามีการทำงานของตับที่ดีขึ้น สภาพผิวดีขึ้น และน้ำหนักลดลงหลังการทดลองแล้ว
อย่างไรก็ดี แม้จะมีผลลัพธ์ที่ดีและเป็นรูปธรรม ก็มีความกังวลว่า ยังมีกลุ่มผู้เลิกเดิมในเดือนมกราคม อาจจะกลับไปดื่มเหล้าทดแทนในเดือนกุมภาพันธ์ จนควบคุมปริมาณไม่ได้ กลายเป็น Wet February หรือ กุมภาฯ ดื่มหนัก หรือพูดง่ายว่า ตบะแตก
ซึ่งนี้ไม่ช่วยให้การงดดื่มในเดือนแรกส่งผลดีต่อสุขภาพ และยิ่งเพิ่มความเสี่ยงเมื่อพวกเขามีแนวโน้มดื่มมากขึ้นกว่าเดิมในเดือนต่อมา
!["Wet February" กุมภาฯ เดือนตบะแตกจากการงดดื่มแอลกอฮอล์](/static/2025/cfec0ebf-62f2-4dba-b873-b13e66643148.webp)
สรุปข่าว
หลีกเลี่ยง Wet February ได้อย่างไร?
เมื่อตั้งเป้าหมายว่าจะดูแลสุขภาพ หรือลด หรือเลิกดื่มอย่างจริงจัง ก็ควรหาวิธีในการหลีกเลี่ยงการเกิด Wet February
1. ตั้งเป้าหมาย
กำหนดจำนวนที่ชัดเจนของการดื่มที่ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญ แนะนำให้มีวันที่ไม่ดื่มอย่างมากสุด 2 วันต่อสัปดาห์ ห้ามเกินจากนี้
2. จดบันทึก
ติดตามว่าดื่มไปมากแค่ไหนแล้ว เพื่อให้สามารถควบคถมปริมาณได้
3. ควบคุมจังหวะ
นิยามของการดื่มหนัก คือการดื่ม 5 แก้วขึ้นไปต่อครั้งสำหรับผู้ชาย หรือ 4 แก้วขึ้นไปต่อครั้งสำหรับผู้หญิง โดยทั่วไปภายในเวลาประมาณสองชั่วโมง ควบคุมจังหวะเมื่อคุณดื่มให้ไม่มากไปกว่านี้ และ พยายามสลับเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เช่น น้ำเปล่า
4. ไม่ดื่มตอนท้องว่าง
การรับประทานอาหารก่อนหรือระหว่างดื่มสามารถช่วยให้แอลกอฮอล์ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายช้าลง
5. หลีกเลี่ยงงานสังสรรค์ถ้าทำได้ หรือ หาทางเลือกอื่น
หากิจกรรมใหม่หรือกลับไปทำงานอดิเรกเก่าเพื่อใช้เวลาแทนช่วงที่คุณใช้ในการดื่ม และหลีกเลี่ยงคนหรือสถานที่ที่อาจกระตุ้นให้คุณดื่ม
ที่มาข้อมูล : usatoday/ verywellmind
ที่มารูปภาพ : canva