ทำไมคนเราถึงโกหก? โกหกเป็นนิสัยถือเป็นโรคไหม?
วารสาร Communication Monographs ได้มีการเปิดเผยงานวิจัย สาเหตุที่คนโกหก 2 อันดับคือ โกหกเพื่อหลบหลีกให้ไม่ต้องเจอกับบางคน ร้อยละ 21 และเป็นการล้อหรืออำกันเล่น ร้อยละ 20ตามด้วยการโกหกเพื่อปกป้องตัวเอง ร้อยละ 14 เพื่อสร้างภาพหรือทำให้อีกฝ่ายประทับใจ ร้อยละ 13 และเพื่อป้องกันคนอื่นด้วยเหตุผลบางอย่าง ร้อยละ 11 หาประโยชน์บางอย่างใส่ตัว ร้อยละ 9 หาประโยชน์ให้พรรคพวกคนอื่นๆ ร้อยละ 5 เพื่อทำร้ายจิตใจกัน ร้อยละ 2 ส่วนที่เหลือ ร้อยละ 5 ก็เป็นเหตุผลอื่นๆ ที่ไม่จำเพาะเจาจง ไปจนถึงไม่มีเหตุผลอะไร โกหกเพราะอยากโกหก
สรุปข่าว
โกหกเป็นนิสัยถือเป็นโรคไหม
โดยเฉลี่ย คนเราจะพูดโกหกวันละ 1 ครั้ง และมักโกหกร้ายแรงกับคนใกล้ชิด เช่น สมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนสนิทมากกว่าคนแปลกหน้า
แม้ว่าในทางจิตวิทยาและจิตแพทย์ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าการโกหก เป็นโรคทางจิตเวชหรือไม่ แต่ในทางจิตเวชมีอยู่โรคหนึ่งที่ผู้ป่วยมักมีนิสัยโกหกโดยที่ตัวเองไม่รู้ตัว คือ โรคหลอกตัวเอง
โรคหลอกตัวเอง ทางการแพทย์ไม่มีชื่อโรคดังกล่าวระบุไว้ในสารบบ เพียงแต่เป็นภาวะของคนที่มีข้อจำกัดทางจิตใจ มีความคิดที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อตัวเอง และผู้อื่น
โรคนี้มีสองอย่างคือ คนที่มีจินตนาการถึงสิ่งนั้นสิ่งนี้ที่ตนเองปรารถนา แต่ยังรู้ถึงความเป็นจริงว่าตนเองเป็นใคร ความจริงคืออะไร อีกแบบคือ คนที่มีจินตนาการถึงสิ่งนั้นสิ่งนี้ โดยในขณะที่มีจินตนาการอยู่นั้นก็ลืมความจริงไปเลยว่า ตนเองเป็นใคร เป็นอย่างไร
พญ.อัมพรกล่าวว่า การจินตนาการถึงสิ่งที่ไม่เป็นจริงได้ ผู้คิดจะได้ประโยชน์ 3 ขั้น ขั้นแรกคือ การมีความสุขที่ได้จินตนาการในสิ่งที่ตนเองปรารถนา ตอบสนองสิ่งที่ตนเองคิด ขั้นที่ 2 คือ เมื่อโกหกตนเองและโกหกผู้อื่นด้วย ก็อาจจะทำให้ผู้อื่นยอมรับ ชื่นชมในสิ่งที่ตัวเองได้โกหกออกไป ขั้นที่ 3 คือ เมื่อโกหกตัวเอง โกหกคนอื่น อาจจะได้ประโยชน์จากสิ่งนั้น เช่น เมื่อโกหกแล้วมีชื่อเสียงเงินทองเพิ่มมากขึ้นมีคนให้ของให้เงิน ได้สิทธิประโยชน์จากสิ่งนั้น ซึ่งบุคคลจำพวกนี้หากเป็นอย่างสุดโต่ง โกหกแล้วลืมความเป็นจริงไปเลย อาจจะเป็นคนหลายบุคลิก ถือเป็นโรคทางจิตอย่างหนึ่ง เพราะไม่สามารถควบคุมความคิดให้ใช้ชีวิตอย่างปกติได้
ที่มาข้อมูล : อื่น ๆ
ที่มารูปภาพ : the101world และ สถาบันราชานุกูล