"ตากุ้งยิง" เพราะแอบดูคนอื่น จริงหรือไม่? เปิดสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา!

"ตากุ้งยิง" เพราะแอบดูคนอื่น จริงหรือไม่? เปิดสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา!

สรุปข่าว

“อย่าไปแอบดูใครเขานะ ระวังจะเป็นตากุ้งยิง….” เชื่อว่าหลายๆคน คงเคยได้ยินกับประโยคทำนองนี้ใช่หรือไม่ แล้วสรุปความเชื่อที่พูดต่อๆ กันมานี้เป็นเรื่องจริงหรือมีความน่าเชื่อถือเพียงใด วันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับ “โรคตากุ้งยิง” ให้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุที่แท้จริง อาการ และวีธีการดูแลรักษาที่ถูกต้องไปพร้อมๆ กันในบทความนี้ 


“ตากุ้งยิง” คืออะไร?

ตากุ้งยิง (Hordeolum/Stye) เป็นอาการของโรคติดเชื้อชนิดหนึ่งที่บริเวณเปลือกตา โดยอาการเริ่มต้นมักจะเกิดอาการคัน เจ็บ และระคายเคือง ต่อมาจะเริ่มมีอาการบวมแดง และมีหัวหนองคล้ายสิวขึ้นบริเวณเปลือกตาด้านนอก หรือในบางกรณีก็สามารถขึ้นบริเวณเปลือกตาด้านในได้ ซึ่งแม้จะเป็นโรคที่ไม่อันตรายแต่ก็สามารถทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเจ็บปวด และอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้ 


“ตากุ้งยิง” เกิดจากสาเหตุอะไร?

สำหรับสาเหตุของการเกิดตากุ้งยิง เป็นเพราะเกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) จึงทำให้ต่อมไขมันหรือต่อมเหงื่อบริเวณเปลือกตาเกิดการอักเสบขึ้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการแอบมองผู้อื่นโป๊หรือเปลือยตามความเชื่อแต่อย่างใด โดยผู้ที่มีประวัติเกี่ยวกับต่อมไขมันที่เปลือกตาอุดตัน หรือเปลือกตาอักเสบ ยิ่งมีโอกาสเกิดการการอักเสบจากการติดเชื้อเกิดและเป็นตากุ้งยิงได้มากกว่าคนปกติ นอกจากนี้การติดเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่นๆ ก็สามารถเป็นต้นเหตุทำให้เกิดอาการตากุ้งยิงได้เช่นกัน


อาการของ “ตากุ้งยิง” เป็นอย่างไร?

สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อและเป็นตากุ้งยิง มักจะมีอาการหลักๆ ดังต่อไปนี้

1. เกิดอาการเจ็บๆ คันๆ บริเวณเปลือกตา 

2. ต่อมาเริ่มมีอาการบวมแดงประกอบกับอาการปวดบริเวณเปลือกตา 

3. รู้สึกเหมือนมีก้อนบริเวณที่เจ็บ 

4. ภายใน 4-5 วัน จะเกิดหัวฝีหรือหัวหนองบริเวณเปลือกตาขึ้น โดยสามารถเกิดได้ทั้งเปลือกตาด้านใน และเปลือกตาด้านนอก


วิธีการรักษา “ตากุ้งยิง” ทำอย่างไรได้บ้าง? 

ในความเป็นจริงนั้น ตากุ้งยิงสามารถหายได้เอง โดยหลังจากที่หัวฝีหรือหนองบริเวณเปลือกตาบวเต็มที่ประมาณ 4-5 วันแล้ว หนองอาจจะแตกและยุบไปเองโดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาในการรักษาหรือพบแพทย์ ซึ่งแนะนำว่าเมื่อหนองยังไม่แตก ให้ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำอุ่นประคบตากุ้งยิง 10-15 นาที ยอกจากนี้ยังควรรักษาความสะอาดอย่างเคร่งครัดและระวังไม่ให้เกิดการติดเชื้อซ้ำ ทั้งนี้หากไม่อยากให้การติดเชื้อเกิดขึ้นซ้ำอีก สามารถไปพบจักษุแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธีและป้องกันการอักเสบที่อาจตามมาได้ 



ที่มาข้อมูล : โรงพยาบาลเมดพาร์ค, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

ที่มาภาพปก : freepik/user18526052


ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :

แท็กบทความ

ตากุ้งยิง
ตากุ้งยิง เกิดจาก
ตากุ้งยิง สาเหตุ
ตากุ้งยิง อาการ
ตากุ้งยิง รักษายังไง
ตาอักเสบ
ตากุ้งยิง กี่วันหาย