"โกหกบ่อยๆ" ส่งผลเสียต่อสมอง จริงหรือ? หาคำตอบได้ที่นี่

"โกหกบ่อยๆ" ส่งผลเสียต่อสมอง จริงหรือ? หาคำตอบได้ที่นี่

สรุปข่าว

การ " โกหกบ่อย ๆ" ส่งผลเสียต่อสมอง โกหกมากสมองส่วน amygdala ยิ่งทำงานน้อยลง จริงหรือ? หาคำตอบได้ที่นี่


จากที่มีการแชร์ข้อมูลว่าการโกหกบ่อยๆ ส่งผลเสียต่อสมอง โกหกมากสมองส่วน amygdala ยิ่งทำงานน้อยลง ล่าสุดทาง ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ ทางสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และชี้แจงว่าไม่มีการศึกษาใดที่มีหลักฐานมากเพียงพอว่า การโกหกบ่อยๆ จะทำให้สมองส่วนนี้หรือส่วนอื่นๆทำงานน้อยลง ความรู้สึกผิดหลังการโกหกเองก็เป็นความสำนึกคิดเฉพาะตน ซึ่งเกี่ยวข้องกับระดับจริยธรรมในแต่ละบุคคล ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยการทำงานของสมองเพียงอย่างเดียว


สำหรับการโกหกบ่อยๆ ไม่มีข้อมูลสนับสนุนใดๆ ว่าทำให้เกิดภาวะหลงผิดมากขึ้น ปัจจุบันมีข้อมูลที่เชื่อว่าเกิดได้จากทั้งความผิดปกติทางสมองและโรคจิตเวช ผู้ป่วยมักไม่รู้ว่าตัวเองมีความเชื่อที่ผิดฝังแน่นจนแยกแยะความจริงและเท็จไม่ได้ ซึ่งในมุมมองของผู้ป่วยเอง ตนเองเชื่อว่ากำลังพูดความจริงอยู่ด้วยซ้ำ ไม่สัมพันธ์อะไรเลยกับการโกหก


ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.pni.go.th หรือโทร. 02 3069899


บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ไม่มีการศึกษาใดที่มีหลักฐานมากเพียงพอว่า การโกหกบ่อย ๆ จะทำให้สมองส่วนนี้หรือส่วนอื่น ๆ ทำงานน้อยลง



ที่มา ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม

แฟ้มภาพ AFP

ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :

แท็กบทความ

โกหก
โกหกบ่อยๆ
สมอง
การโกหก
สมองส่วน amygdala