โลกแห่ลงทุนอาเซียน เอฟดีไอพุ่งขึ้น 3 เท่า

สรุปข่าว

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ และประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุน (FETCO) เปิดเผยว่า อาเซียนกลับมาเป็นแหล่งลงทุนที่น่าจับตามองของทั่วโลก และอาจเป็นภาพเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นแล้วเมื่อ 10-20 ปีที่แล้ว ในช่วงประมาณปี ค.ศ. 1980-1990 ที่เงินลงทุนโดนตรงหรือเอฟดีไอไหลเข้ามาลงทุนในอาเซียและไทย ซึ่งครั้งนั้นเงินลงทุนไหลมาจากญี่ปุ่นเป็นสำคัญ จากเงินเยนที่แข็งค่ามากทำให้บริษัทผลิตรถยนต์ย้ายฐานการผลิตออกจากญี่ปุ่น ซึ่งรอบนี้ก็ถือเป็นคลื่นของการเข้ามาลงทุนครั้งใหญ่ เป็นโอกาสเติบโตในระยะถัดไปเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ๆ  


โดยเห็นได้จากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาเริ่มเห็นเงินจากทั่วโลกไหลเข้ามาในอาเซียน จากเมื่อ 10 ปีที่แล้วเอฟดีไออยู่ที่ราวร้อยละ 6 เพิ่มขึ้นมาเป็นร้อยละ 17 คิดเป็นการเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า (300%) ซึ่งการเข้ามาในขณะนี้มองว่าเอฟดีไอเข้ามาได้อีกมาก จึงถือจุดเปลียนสำคัญ เพราะอาเซียนถูกมองเป็นจุดเปลียนที่จะขึ้นมาเป็นเศรษฐกิจอันดัน 4 ของโลก รองจากสหรัฐ จีน และอินเดีย เนืองจากเม็ดเงินลงทุนถูกจำกัดจากควมขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ จะไปลงทุนจัดก็ยาก ไปรัสเซียก็ลำบาก ทำให้แนวโน้มต่อไปบริษัทต่างๆ ทั่วโลกจะไหลเข้ามาลงทุนในอาเซียน 


ทั้งนี้ เอฟดีไอไหลเข้ามาในอาเซียนเมื่อปี 2565 แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 2.24 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 17 ของทุนเอฟดีไอทั่วโลกและยังไหลเข้ามาเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 


ด้าน คุณชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ หรือ BBL กล่าวในโอกาสเปิดงานสัมมนา AEC Business Forum 2025 กล่าวว่า ไทยสามารถขยายการเติบโตไปกับอาเซียนได้ โดยอาเซียนจำเป็นต้องสร้างความร่วมมือทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และระดับโลก เพราะถือเป็นกุญแจสำคัญในการรับมือกับความท้าทายและโอกาสในยุคปัจจุบัน ทั้งจากนโยบายทรัมป์ ความยัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ เทคโนโลยี AI และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change) 


โดยเศรษฐกิจอาเซียนเองก็มีศักยภาพเติบโตสูงตามการเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลาง การขยายตัวของเมือง จึงมีความต้องการมากขึ้นที่จะบริโภคสินค้าและบริการการศึกษา การดูแลสุขภาพ และการท่องเที่ยว รวมทั้งการค้า และดึงดูดการเคลื่อนย้ายเข้ามาของผู้คนทั่วโลก ซึ่งจากภาพดังกล่าวธนาคารจะขยายสินเชื่อเพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจไทยออกไปเติบโตในอาเซียน โดยตั้งเป้าสินเชือในปี 68 เติบโตประมาณร้อยละ 4-5 เพื่อสนับสนุนการปรับปรุงเทคโนโลยี ปรับปรุงการผลิตเพื่อรับยุคเทคโนโยลีและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทยในการออกไปเติบโต 


ที่มา TNN

ที่มาข้อมูล : TNN

ที่มารูปภาพ : -

แท็กบทความ