“คุมกำเนิดช้างป่า” ลดอัตราการเกิด แก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างได้จริงหรือ?

นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวถึง แนวทางการแก้ไขปัญหาช้างป่า หลังเปิดรับฟังความเห็นจากหลายภาคส่วนเกี่ยวกับการควบคุมกำเนิดช้างป่า  เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2568 ซึ่งมีแนวทางจะดำเนินการฉัดวัคซีนคุมกำเนิดให้กับช้างป่า ว่า ภายใต้กรอบของคณะกรรมาธิการวิสามัญแก้ไขปัญหาช้างป่า จากการรับฟังความเห็นมีทั้งฝ่ายเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย 


ล่าสุดอธิบดีกรมอุทยานฯ ยืนยันว่าการฉีดวัคซีนคุมกำเนิดช้างป่า จำเป็นต้องทำ โดยอยู่ระหว่างขั้นตอนการศึกษาข้อมูลว่า จะต้องฉีดอย่างไร ปริมาณเท่าไหร่ และช้างป่ากลุ่มไหนจะได้รับการฉีดก่อน

“คุมกำเนิดช้างป่า” ลดอัตราการเกิด แก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างได้จริงหรือ?

สรุปข่าว

กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เปิดรับฟังความเห็นเกี่ยวกับการ “คุมกำเนิดช้างป่า” เพื่อลดอัตราการเกิด ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างช้างป่ากับคน

เบื้องต้นจะฉีดให้กับช้างป่าที่ออกมาอยู่นอกป่ารอยต่อ 5 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ระยอง ชลบุรี ปราจีนบุรี รวมไปถึงสระแก้วด้วย ประมาณ 5-6 กลุ่ม ส่วนวัคซีนตอนนี้มีอยู่ 18 โดส หากมีขั้นตอนปฏิบัติที่ชัดเจนจะนำข้อมูลเสนอต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญแก้ไขปัญหาช้างป่า และหากเริ่มดำเนินการฉีดวัคซีนแล้ว ก็จะเป็นขั้นตอนของการติดตามผลเพื่อส่งให้คณะกรรมาธิการฯอีกรอบ เพื่อเข้าสู่การพิจารณาจัดซื้อวัคซีนเพิ่ม 

นอกจากนี้ อธิบดีกรมอุทยานฯ ย้ำด้วยว่า แนวทางฉีดวัคซีนคุมกำเนิดช้างป่า จำเป็นต้องทำ เพื่อลดอัตราการเพิ่มขึ้นของช้างป่า เพราะหากไม่เริ่มอนาคต ช้างป่าจะยิ่งเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งที่ผ่านมาการแก้ปัญหาทำได้เพียงผลักดันช้าง และเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบ

อธิบดีกรมอุทยานฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า การจะฉีดวัคซีนคุมกำเนิดช้างป่าไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องดูจุดอ่อนและข้อบกพร่องให้รอบครอบ โดยเฉพาะก่อนจะเริ่มฉีดต้องตรวจสุขภาพของช้างก่อน และการจะตรวจสุขภาพช้างที่อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ทำได้ยาก

แท็กบทความ

สัตว์ป่า
ช้างป่า
คุมกำเนิดช้างป่า
ปัญหาช้างป่า
ประชากรช้าง