20 พ.ค. “วันผึ้งโลก” สัตว์ตัวจิ๋วผู้ให้ชีวิตสัตว์โลก

20 พ.ค. “วันผึ้งโลก”  สัตว์ตัวจิ๋วผู้ให้ชีวิตสัตว์โลก

สรุปข่าว

จากการประชุมสมาคมผู้เลี้ยงผึ้งนานาชาติ มีมติกำหนดให้วันที่ 20 พฤษภาคม เป็น “วันผึ้งโลก” (World Bee Day) เพื่อให้เกษตรกรและบุคคลทั่วไปเกิดการตระหนักและเห็นคุณค่า ความสำคัญ ประโยชน์ของผึ้ง 


โดยแต่ละประเทศจะจัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับความสำคัญของผึ้งและการเลี้ยงผึ้ง สร้างการรับรู้เกี่ยวกับบทบาทของผึ้งในฐานะผู้ผสมเกสร และวิธีที่ผึ้งช่วยฟื้นฟูป่าไม้ และเนื่องจากประชากรผึ้งกำลังถูกคุกคาม การจัดกิจกรรมวันผึ้งโลกจึงให้ความสำคัญกับการปกป้องผึ้งและแมลงผสมเกสรอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันในหลาย ๆ ประเทศได้ให้ความสำคัญและจัดให้มีกิจกรรมต่างๆ โดยการมีส่วนร่วมทั้งรัฐบาล หน่วยงานราชการ ประชาชนและนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั่วโลก


ซึ่ง “วันผึ้งโลก” นั้นตรงกับวันคล้ายวันเกิดของศาสตราจารย์ คร. อันตัน ฮัลซา (Anton Janร้a) ผู้บุกเบิกการเลี้ยงผึ้งสมัยใหม่ ให้เป็นที่แพร่หลาย และได้รับการยอมรับถึงความรู้ความสามารถในการเลี้ยงผึ้งสมัยใหม่รูปแบบการศึกษาและการค้นคว้าของท่าน เน้นการวิจัยในภาคสนาม และค้นคว้า รวมทั้งเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงผึ้งทั้งในสาธารณรัฐออสเตรีย และประเทศใกล้เคียง ผ่านการบันทึกเป็นตำราการเลี้ยงผึ้งสมัยใหม่เล่มแรกของโลก 


โดยเนื้อหาแสดงถึงการจัดการฟาร์มผึ้งอย่างเป็นระบบและยั่งยืน เป็นกรณีศึกษาการเลี้ยงผึ้งสมัยใหม่ซึ่งแนวทางการศึกษาและการปฏิบัติในการเลี้ยงผึ้งตามขนบธรรมเนียมประเพณีแบบดั้งเดิมจะฆ่าผึ้งให้ตายยกรังก่อนฤดูหนาว เพื่อทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตน้ำผึ้ง 


ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้ท่านเกิดแนวคิดและสร้างแนวทางการปฏิบัติอุตสาหกรรมการเลี้ยงผึ้งแบบสมัยใหม่ เพื่อให้เกิดการคงไว้ทั้งปริมาณและคุณภาพของประชากรผึ้ง ดังปรากฎหลักฐานจารึก "ผมปฏิวัติแนวทางการเลี้ยงผึ้งโดยเราจะไม่ฆ่าผึ้ง" เพื่อแลกกับน้ำผึ้งกับขี้ผึ้งแต่เราจะหาแนวทางเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งและสุขภาวะที่ดีให้กับผึ้งที่เราเลี้ยงไว้เพื่อที่ผึ้งเหล่านี้ จะได้ผลิตน้ำผึ้งที่มีคุณภาพให้กับเราในปีต่อไป


ในปี ค.ศ. 1770 (พ.ศ. 2313) ได้รับเกียรติจากสมเด็จพระมหาราชินี มาเรีย เทเรซ่าแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย เชิญท่านมาถวายพระอักษร และถ่ายทอดวิชาการเลี้ยงผึ้งในพระราชวัง ณ กรุงเวียนนา ภายใต้ระบบการจัดการและการเลี้ยงผึ้งแบบสมัยใหม่ ซึ่งศาสตราจารย์ ดร. อันตัน ฮัลซา เป็นบุคลากรทางการศึกษา ที่ได้รับเกียรติสูงสุดในสาขาวิชานี้ คนแรกของโลก


ภาพ: UNSPLASH

แหล่งที่มา : กลุ่มส่งเสริมแมลงเศรษฐกิจ สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร

ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :

แท็กบทความ