ส่อง “นกปากกบปักษ์ใต้” นกหายากพรางตัวเก่ง

ส่อง “นกปากกบปักษ์ใต้” นกหายากพรางตัวเก่ง

สรุปข่าว

เพจอุทยานแห่งชาติศรีพังงา-Si Phang Nga National Park โพสต์ภาพ "นกปากกบปักษ์ใต้" นกหายากพรางตัวเก่งมาก ๆ มักอาศัยอยู่ในป่าที่ราบลุ่ม และเชิงเขาในบรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย และภาคใต้ของไทย

ส่อง “นกปากกบปักษ์ใต้” นกหายากพรางตัวเก่ง

ภาพความน่ารัก"นกปากกบปักษ์ใต้" นกหายากสุดยอดนักพรางตัว


สำหรับนกปากกบปักษ์ใต้ (อังกฤษ: Gould's frogmouth; ชื่อวิทยาศาสตร์: Batrachostomus stellatus) เป็นนกหากินกลางคืนในอันดับ Caprimulgiformes และในวงศ์ Podargidae  ลักษณะเด่นคือ ปากที่กว้าง อวบใหญ่ คล้ายปากกบ และมีจุดขาวกระจัดกระจายบนปีกและส่วนใต้ท้องสีขาวหรือขาวหม่นมีดวงสีขาวขอบน้ำตาล เป็นนกขนาดกลางที่มีน้ำหนักประมาณ 47 - 48.5 กรัม และวัดความยาวได้ 21- 25 เซนติเมตร เพศผู้และเมียมีชุดขนเหมือนกัน นกเต็มวัยมีสองชุดขนหลัก ได้แก่ ชุดขนสีอ่อนซึ่งมีลำตัวโดยรวมเป็นสีน้ำตาลแดง มีจุดสีขาวกระจายบนขนคลุมปีก ท้องสีขาวมีลายเกล็ดสีน้ำตาลแดง ชุดขนสีเข้ม มีลวดลายไม่แตกต่างกันมาก แต่มีโทนสีโดยรวมเป็นสีน้ำตาลเข้มกว่า เสียงร้องดังและลากยาว “โว้ว… วิ่ว” หรือเสียง “วัค” สั้น ๆ 


นอกจากนี้นกปากกบปักษ์ใต้ ยังเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในบัญชีแนบท้ายกฎกระทรวง กำหนดให้เป็นสัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2546 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 


ภาพ: ไกด์โทนี่ 

ที่มา : อุทยานแห่งชาติศรีพังงา-Si Phang Nga National Park


ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :

แท็กบทความ

นกปากกบ
นกปากกบปักษ์ใต้
ดูนกศรีพังงา
ธรรมชาติ
สัตว์ป่าคุ้มครอง