![“คลื่นกระแสลมตะวันตก” ตัวการทำอากาศรวนช่วงฤดูหนาว](/static/images/a872f9ab-c66f-4937-bf08-d4ac946553b0.jpg)
![“คลื่นกระแสลมตะวันตก” ตัวการทำอากาศรวนช่วงฤดูหนาว](/static/images/a872f9ab-c66f-4937-bf08-d4ac946553b0.jpg)
สรุปข่าว
เดือนมกราคม อากาศหนาวเย็นลงในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภาคเหนือและอีสาน นอกจากอากาศที่หนาวเย็นแล้ว บางครั้งอาจมีอากาศแปรปรวน เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลูกเห็บตกได้ สาเหตุเป็นเพราะว่า ช่วงกลางและปลายฤดูหนาว เรามักได้รับอิทธิพลจากคลื่นกระแสลมตะวันตก ที่มักจะเคลื่อนมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือและอีสานนั่นเอง คลื่นกระแสลมตะวันตก เป็นคลื่นที่พัดมาจากเทือกเขาหิมาลัย มักจะเคลื่อนตัวมาจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออกบริเวณตั้งแต่อินเดียบังคลาเทศ เมียนมา เรื่อยมาจนกระทั่งเข้ามาปกคลุมบริเวณภาคเหนือ ลมตัวนี้เป็นลมระดับบน ไม่ใช่ลมระดับพื้นผิว โดยลมจะเหนี่ยวนำให้อากาศอุ่นชื้นที่ลอยอยู่บริเวณพื้นดินลอยตัวขึ้นไปด้านบน และเมื่ออากาศอุ่นชื้นมาปะทะกับอากาศเย็นด้านบน จะทำให้อากาศเกิดความแปรปรวนเกิดเป็นฝนฟ้าคะนองขึ้น ลักษณะอากาศเมื่อคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนผ่านจะทำให้บริเวณนั้นมีพายุฟ้าคะนองเกิดขึ้น และบางครั้งอาจเกิดลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่ โดยฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณด้านหน้าของคลื่น แต่เมื่อคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนผ่านไป อากาศด้านหลังคลื่นจะมีลักษณะจมตัว ทำให้อุณหภูมิจะลดลง และท้องฟ้าปลอดโปร่ง
ที่มาข้อมูล : -