TNN ฝุ่น PM 2.5 คลุ้งทั่วเมืองน่าห่วง ระยะยาวส่งผลกระทบก่อให้เกิด "มะเร็งปอด"

TNN

Health

ฝุ่น PM 2.5 คลุ้งทั่วเมืองน่าห่วง ระยะยาวส่งผลกระทบก่อให้เกิด "มะเร็งปอด"

ฝุ่น PM 2.5 คลุ้งทั่วเมืองน่าห่วง ระยะยาวส่งผลกระทบก่อให้เกิด มะเร็งปอด

ฝุ่น PM 2.5 คลุ้งทั่วเมืองน่าห่วง ระยะยาวจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สาเหตุก่อให้เกิด "มะเร็งปอด-โรคระบบทางเดินหายใจ"


ฝุ่น PM 2.5 คลุ้งทั่วเมืองน่าห่วง ระยะยาว จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สาเหตุก่อให้เกิด "มะเร็งปอด-โรคระบบทางเดินหายใจ"

เว็บไซต์ IQAir เก็บข้อมูลและรายงานคุณภาพอากาศและจัดอันดับเมืองที่มีมลพิษทั่วโลก รายงานล่าสุดเมื่อเวลา 07.00 น. ที่ผ่านมาของวันที่ 9 มีนาคม 2566 พบว่าจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 2 ของโลก

ฝุ่น PM 2.5 คลุ้งทั่วเมืองน่าห่วง ระยะยาวส่งผลกระทบก่อให้เกิด มะเร็งปอด

สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ด้านนายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีส้ม) กระจายในภาคต่าง ๆ โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 

หากประชาชนได้รับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในระยะยาว จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้เกิดโรคทั้งระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด และมะเร็งปอด เนื่องจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จะเข้าไปทำให้เนื้อเยื่อปอดอักเสบ ส่งผลต่อกระบวนการแบ่งตัวผิดปกติภายในเซลล์ ส่งผลให้กลายเป็นเซลล์มะเร็ง หากได้รับในปริมาณมากและระยะยาว 

นอกจากนี้ ยังมีองค์ประกอบของสารเคมีบางชนิดที่ก่อให้เกิดมะเร็ง เช่น โพลิไซคลิกอโรมาติกไฮโดรคาร์บอน หรือสารอินทรีย์ระเหยง่าย ซึ่งส่งผลให้เกิดมะเร็งปอดได้เช่นเดียวกัน ซึ่งองค์การวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ (International Agency for Research on Cancer, IARC, 2013) ระบุว่า มลพิษทางอากาศ และฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์

สาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดมะเร็งปอด

การรับสัมผัส PM2.5 เป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดมะเร็งปอด นอกจากการได้รับควันบุหรี่ หรืออยู่ในสถานที่ทำงานที่มีสารก่อมะเร็ง หรืออาจเกิดจากพันธุกรรม โดยจากข้อมูลการศึกษาภาระโรคขององค์การอนามัย ปี 2562 พบว่า 

คนไทยเสียชีวิตจากฝุ่นละอองในบรรยากาศ จำนวนรวม 31,081 ราย 

สาเหตุจากโรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic heart disease) 11,408 ราย โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) 7,274 ราย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) 3,043 ราย และมะเร็งปอด 2,464 ราย 

นอกจากนี้ รายงานการเจ็บป่วยโรคจากมลพิษทางอากาศของคลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าการเจ็บป่วยจากมลพิษทางอากาศ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี รวมถึง มะเร็งปอด ซึ่งในปี 2565 พบรายงานผู้ป่วยมะเร็งปอดถึง 189,713 ราย คิดเป็น 291.18 ต่อแสนประชากร

ประชาชนและกลุ่มเสี่ยง แนะป้องกันตนเองจากฝุ่น PM 2.5 

ทั้งนี้ กรมอนามัยขอให้ประชาชนและกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก ผู้ป่วยโรคหอบหืด ผู้สูงอายุ ป้องกันตนเองจากฝุ่น PM 2.5 โดยลดกิจกรรมนอกบ้านและอยู่ภายในบ้านหรือในอาคารให้มากขึ้น ควรใส่หน้ากากสำหรับป้องกันฝุ่น PM2.5 เมื่อต้องออกนอกอาคาร งดออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงในที่ที่มีฝุ่นมาก 

งดสูบบุหรี่ และหากมีอาการผิดปกติ เช่น มีอาการระคายเคืองบริเวณทางเดินหายใจ แสบจมูก แสบคอ หายใจไม่สะดวก เหนื่อยง่าย หรือไอ ให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที และให้ช่วยกันลดกิจกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่นเพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว 

ประชาชนควรเฝ้าระวังตนเองด้วยการประเมินอาการจากการรับสัมผัส PM 2.5 พร้อมรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นได้ที่เว็บไซต์ “4HealthPM2.5” หรือ เว็บไซต์ “คลินิกมลพิษออนไลน์” และหากมีอาการรุนแรง เช่น แน่นหน้าอก หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย หายใจมีเสียงหวีด ให้รีบไปพบแพทย์ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ สายด่วนกรมอนามัย 1478 หรือกรมควบคุมโรค 1422




ข้อมูลจาก กรมอนามัย / iqair

ภาพจาก TNN ONLINE (แฟ้มภาพ)

ข่าวแนะนำ