TNN “ดร.เสรี” ชี้อุณหภูมิจะสูงขึ้นอีก ช่วง 29-30 เม.ย.นี้ ในหลายจังหวัดทั่วไทย

TNN

Earth

“ดร.เสรี” ชี้อุณหภูมิจะสูงขึ้นอีก ช่วง 29-30 เม.ย.นี้ ในหลายจังหวัดทั่วไทย

“ดร.เสรี” ชี้อุณหภูมิจะสูงขึ้นอีก ช่วง 29-30 เม.ย.นี้ ในหลายจังหวัดทั่วไทย

“ดร.เสรี” ชี้หลายจังหวัดอุณหภูมิจะสูงขึ้นอีกช่วง 29-30 เม.ย.นี้ และจะเริ่มลดลงช่วงกลางปี

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้เชี่ยวชาญ IPCC และประธานกรรมการบริหาร Futuretales LAB, MQDC ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าวเที่ยง TNN ถึงสภาพอากาศที่ร้อนจัด จากภาพรวมจากนี้ไปอีกประมาณ 2 สัปดาห์ อุณหภูมิจะยังคงสูงขึ้น ตั้งแต่วันจันทร์-อังคารนี้ (29-30 เมษายน) จะเป็นช่วงที่ประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงที่สุดในปีนี้ ซึ่งหมายความว่าจะสูงกว่าวันที่ 22 ที่ผ่านมา ซึ่งตำแหน่งของแต่ละสถานีกรมอุตุนิยมวิทยานั้นคาดการณ์ได้ยาก แต่ถ้าภาพรวมของแต่ละจังหวัดมีโอกาสจะสูงกว่าวันที่ 22 คิดว่าจะเฉลี่ยแต่ละจังหวัดจะสูงขึ้นแน่ ๆ ในช่วงวันที่ 29-30 เมษายนนี้ 

จากคาดการณ์ว่าหลังวันที่ 6 พฤษภาคม 2024 อุณหภูมิจะลดลงมาอย่างมีนัยยะสำคัญประมาณ 2 องศาฯ แล้วพอเข้าสัปดาห์แรกของเดือนมิถุนายน อุณหภูมิจะลดลงมาถึง 3 องศา ดังนั้นโดยรวมเมื่อเข้าสู่เดือนมิถุนายนก็จะเริ่มรู้สึกได้ว่าอากาศร้อนลดลง แต่อย่าลืมว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นตลอด เพราะฉะนั้นอุณหภูมิก็ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยอยู่ดี เพียงแต่ว่าอากาศจะไม่ร้อนเหมือนช่วงเดือนเมษายน และพฤษภาคม 

ปรากฏการณ์ลานีญาในช่วงกลางปีมีผลสำคัญจะทำให้อุณหภูมิลดลงมาจนถึงช่วงปลายปี เพราะฉะนั้นเราจะรู้สึกว่าไม่ได้ร้อนเหมือนกับปีก่อนหน้านี้ ส่วนเรื่องการมาของปรากฏการณ์ลานีญาทำให้เกิดฝนตกมากขึ้น และมีความกังวลว่าหนักจนน้ำท่วมหรือไม่ จากการประเมินสภาพอากาศพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ลานีญากับฝนตกหนักมีโอกาสทำให้น้ำท่วมในประเทศมีเพียงแค่ 0.25 เท่านั้นเอง ไม่ได้หมายความว่าการมาของปรากฏการณ์ลานีญาจะทำให้น้ำท่วม 

ในช่วงต้นฤดูฝนตั้งแต่ช่วงนี้ไปจนถึงเดือนมิถุนายน ฝนยังน้อยกว่าปกติอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เพราะฉะนั้นก็จะส่งผลกระทบต่อการทำนาปีของเกษตรกร อย่าเพิ่งทำนาปีเร็วเกินไป ท่านจะเหนื่อยเพราะน้ำไม่มี ตอนนี้ที่กรมชลประทานประกาศภัยแล้งกันหลายจังหวัด ไม่มีน้ำทำนา ควรจะเลื่อนเวลาไปในช่วงกลางฝนตั้งแต่ 15 กรกฎาคม เป็นต้นไป ก็จะเริ่มเห็นฝนตกอย่างต่อเนื่อง ผมคิดว่าในช่วงฝนปลายปีอาจจะมีน้ำท่วมในบางแห่ง เพราะอย่างที่เรียนไปข้างต้นว่าการเปลี่ยนผ่านไปสู่ปรากฏการณ์ลานีญาไม่ได้มีผลกระทบต่อฝน แต่มีนัยยะสำคัญกับเรื่องโลกร้อน ก็จะมีฝนตกเป็นช่วงเวลาจำกัด คือตกแบบ 1-2 ชั่วโมง ทำให้มีน้ำขังรอการระบายนั่นเอง เรื่องนี้ต้องระวัง การคาดการณ์สามารถทำได้ประมาณ 1 สัปดาห์ หรือ 2-3 วันข้างหน้า เพราะฉะนั้นต้องติดตามสถานการณ์อยู่ตลอด

ถ้าเราดูตามปกติปรากฏการณ์ลานีญาหมายถึงน้ำทะเลทางฝั่งเอเชียนั้นสูงขึ้นกว่าปกติ หรือสูงขึ้นกว่าฝั่งอเมริกา เพราะฉะนั้นพายุย่อมมาเกิดใกล้ตัวเรามากขึ้น ก็มีแนวโน้มว่าจะเข้ามาที่ประเทศไทยมากขึ้น แต่มีการคาดการณ์ออกมาแล้วว่าจนว่าจะถึงเดือนตุลาคมจะมีพายุโซนร้อนเกิดขึ้นประมาณ 18 ลูก จากค่าเฉลี่ย 20 ลูก ถือว่าน้อยกว่าเล็กน้อย ซึ่งจะมีเข้าหรือผ่านประเทศไทยอย่างมาก ก็ประมาณ 2 ลูก ก็ต้องดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยการคาดการณ์พายุก็ใช้เวลา 3-5 วันก่อนเกิดเหตุ พายุเข้าที่ไหนน้ำก็ท่วมที่นั่น แต่ไมไ่ด้เป็นน้ำท่วมใหญ่แบบเป็น 1-2 เดือน เป็นน้ำท่วมแบบรอการระบายมากกว่า เรายังไม่สามารถประเมินได้ด้วยความแม่นยำ แต่สามารถบอกได้ว่าในเชิงผลกระทบจากภาวะโลกร้อนจะทำให้พายุมีความรุนแรงอยู่แล้ว เช่นจากพายุโซนร้อนอาจจะกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นมากขึ้น หรือพายุไต้ฝุ่นจะกลายเป็นซูเปอร์พายุไต้ฝุ่น ก็ต้องติดตามดูว่าพายุที่จะเกิดคือพายุอะไร ถ้าเป็นพายุดีเปรสชั่นก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อเรามาก แต่ถ้าเป็นโซนร้อนก็มีโอกาสจะพัฒนาเป็นพายุไต้ฝุ่นมากขึ้นก็จะส่งผลกระทบ แต่จำนวนพายุจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากการประเมิน แต่ผมคิดว่าเรื่องของพายุอยากให้เข้าเพราะว่าน้ำมีความสำคัญและจำเป็น เพียงแต่การเตือนภัยต้องแม่นยำและชัดเจน ถึงเวลา, ถึงตัวคน และถึงตัวชุมชน

พร้อมแนะนำวิธีลดอุณหภูมิมีอยู่ 2 ทางเลือก 
1. "แพสซีฟ คูลลิ่ง" คืออาศัยร่มเงาธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นการปลูกต้นไม และทำพื้นที่ชุ่มน้ำให้ได้มากที่สุด 
2. "แอคทีฟ คูลลิ่ง" คืออาจจะต้องเปลี่ยนเวลาการใช้ชีวิต กลางวันนอน, กลางคืนทำงาน ไม่รู้ว่าในอนาคตจะเกิดขึ้นไหม เพราะอย่างกลางวันเราสามารถใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ เพราะฉะนั้นโลกอาจจะเปลี่ยนขั้วก็ได้ มีหลายบริษัทในอเมริกาหรือยุโรปที่เริ่มทำแล้ว
.
ดังนั้นไม่ "แพสซีฟ คูลลิ่ง" หรือ "แอคทีฟ คูลลิ่ง" เราต้องทำเพราะเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงภาวะโลกร้อนได้
.
ภาพ: กรมอุตุนิยมวิทยา
ที่มา: TNN16

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง